เมนู

อนึ่ง ช้างนั้นชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะมีร่างกายตั้งอยู่ได้
เป็นอย่างดีฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีขันธ์เกิดดีแล้ว เพราะ
ความเป็นผู้ใหญ่ด้วยศีลขันธ์อันเป็นอเสกขะ. อนึ่ง ช้างนั้นชื่อว่ามีตัวดัง
ดอกบัว เพราะมีร่างกายเช่นกับดอกบัว หรือเพราะเกิดในตระกูลช้าง
ปทุมฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่ามีธรรมดังดอกบัว เพราะมีธรรม
คือโพชฌงค์เช่นกับดอกบัว หรือเพราะเกิดในปทุม คือชาติของพระ-
อริยะ. อนึ่ง ช้างนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่ง เพราะมีเรี่ยวแรงและกำลังเร็ว-
เป็นต้นฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่ง เพราะมีความประพฤติ
ชอบทางกายบริสุทธิ์เป็นต้น หรือเพราะมีศีลสมาธิและปัญญาหลักแหลม
เป็นต้น. เราเมื่อคิคอยู่อย่างนี้จึงเริ่มวิปัสสนา แล้วบรรลุปัจเจกสัมโพธิ-
ญาณ ด้วยประการฉะนี้.
จบคาถาที่ 9

คาถาที่ 10


20) อฏฺฐาน ตํ สงฺคณิการตสฺส
ยํ ผุสฺสเย สามยิกํ วิมุตฺตึ
อาทิจฺจพนฺธุสฺส วโจ นิสมฺม
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าได้กล่าว 3 บาทแห่งคาถาว่า)
บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็น
เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการ

คลุกคลีด้วยคณะ จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัยนั้น
ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (พระกุมารได้กล่าวหนึ่งบาทที่
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า อาทิจจพันธุ์ กล่าวแล้วให้
บริบูรณ์ว่า) พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยยในคาถาที่ .. ดังต่อไปน .
บทว่า อฏฺฐาน ตํ คือ อฏฺฐานํ ต ได้แก่ เหตุนั้น ไม่เป็นฐานะ
อธิบายว่า นั้นไม่ใช่เหตุ. ลบนิคคหิตเสียเป็น อฏฺฐาน ดุจในบทมีอาทิว่า
อริยสจฺจาน ทสฺสนํ. บทว่า สงฺคณิการตสฺส คือ ยินดีในความคลุกคลี
ด้วยหมู่. บทว่า ยํ นี้ เป็นคำแสดงถึงเหตุ ดุจในบทว่า ยํ หิริยติ
หิริตพฺเพน
ย่อมละอายด้วยเหตุใด พึงละอายด้วยเหตุนั้น. บทว่า ผุสฺสเย
พึงถูกต้อง คือพึงบรรลุ. บทว่า สามยิกํ วิมุตฺตึ วิมุตติอันมีในสมัย
ได้แก่ โลกิยสมาบัติ. จริงอยู่ โลกิยสมาบัตินั้นท่านเรียกว่า สามายิกา
วิมุตฺติ
วิมุตติอันมีในสมัย เพราะพ้นแล้วจากข้าศึกในสมัยที่จิตแนบแน่น
อิ่มเอิบนั่นเอง. ซึ่งวิมุตติอันมีในสมัยนั้น. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า
บุคคลพึงถูกต้องวิมุตตินั้น อันมีในสมัยด้วยเหตุใด เหตุนั้นไม่ใช่ฐานะ
ของบุคคลผู้ยินดีด้วยความคลุกคลีด้วยหมู่ เราใคร่ครวญถ้อยคำของพระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว ละความยินดีด้วย
ความคลุกคลีด้วยหมู่ ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงได้บรรลุดังนี้. บทที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ ได้แก่
ความสุขในการบรรพชา. บทว่า ปวิเวกสุขํ ได้แก่ ความสุขใน
กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. บทว่า อุปสมสุขํ ได้แก่ ความ

สุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติอันสงบจากกิเลส. บทว่า สมฺโพธิสุขํ สุขเกิดแต่
ความตรัสรู้ คือมรรคสุข. บทว่า นิกามลาภี คือ ผู้มีปกติได้ตามความ
ประสงค์ด้วยอำนาจความชอบใจของตน. บทว่า อกิจฺฉลาภี คือ ผู้มีปกติ
ได้ไม่ยาก. บทว่า อกสิรลาภี ได้โดยไม่ลำบาก คือได้ไพบูลย์. บทว่า
อสามายิกํ อันไม่มีในสมัย คือ โลกุตระ. บทว่า อกุปฺปํ อันไม่กำเริบ
คือ โลกตรมรรคอันไม่หวั่นไหว ไม่กำเริบ.
จบคาถาที่ 10
จบอรรถกถาวรรคที่ 2

อรรถกถาตติยวรรค


คาถาที่ 1


21) ทิฏฺฐีวิสูกานิ อุปาติวตฺโต
ปตฺโต นิยามํ ปฏิลทฺธมคฺโค
อุปฺปนฺนญาโณมฺหิ อนญฺญเนยฺโย
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามได้แล้ว ถึงความ
เป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้
อื่นไม่พึงแนะนำ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 1 แห่งวรรคที่ 3 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทิฏฺฐีวิสูกานิ ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ได้แก่ทิฏฐิ 62. ก็ทิฏฐิ